หน้าที่การทำงานของกลุ่มงานสารสนเทศ
งานประกันสุขภาพ ยุทธศาสตร์และสารสนเทศทางการแพทย์โรงพยาบาลตรอน
หน้าที่
- ให้บริการด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศของโรงพยาบาลตรอน
- ดูแล Health Data Center ของโรงพยาบาลตรอน
- ให้บริการในด้านการลงทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพและลงทะเบียนสิทธิจ่ายตรงสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- ให้คำปรึกษาในการใช้สิทธิรักษาพยาบาลให้ถูกต้อง
- ประสานงานด้านสิทธิในการรักษาพยาบาลทั้งจากหน่วยงานภายในและหน่วยงานภายนอก
- เรียกเก็บค่าชดเชยการให้บริการทางการแพทย์
- ขึ้นทะเบียนโรงพยาบาลคู่สัญญาหลักในระบบประกันสุขภาพ
เป้าหมายงานสารสนเทศ
- ระบบงานเครือข่ายสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพข้อมูลถูกต้อง สมบูรณ์ ทันเวลา เป็นข้อมูลชุดเดียวกันข้อมูลมีความปลอดภัยและเป็นความลับข้อมูลของ Health Data Center มีความถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา
งานประกันสุขภาพ
- ผู้รับบริการได้รับสิทธิการรักษาพยาบาลตามสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ตามจำนวนที่พึงได้ ทันเวลาผู้รับบริการพึงพอใจ ในบริการที่ได้รับ
ข.ขอบเขตการให้บริการ
งานสารสนเทศ
- ดูแลระบบเครือข่ายงานของโรงพยาบาลตรอนให้สามารถใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมงสำรวจและช่วยจัดหาคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงบำรุงรักษา ดูแล และรักษาความปลอดภัยของระบบเครือข่ายดูแล ปรับปรุง ฐานข้อมูล ให้ถูกต้อง ครบถ้วน ก่อนจัดส่งข้อมูลบริหารข้อมูล ระบบ Health Data Centerสนับสนุน รายงาน ข้อมูล แบบฟอร์มต่างๆ ตามคำร้องขอของผู้ใช้
งานประกันสุขภาพ
- ให้บริการในด้านการลงทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพให้มีความครอบคลุมลงทะเบียนสิทธิจ่ายตรงสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในวัน เวลาราชการให้คำปรึกษาในการใช้สิทธิรักษาพยาบาล ทุกสิทธิ อย่างถูกต้องประสานงานกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกโรงพยาบาลด้านสิทธิการรักษา พยาบาลเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์ ผ่านระบบ E –Claim ทั้งสิทธิหลักประกันสุขภาพ จ่ายตรงข้าราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งประกันสังคมทั้งในและนอกจังหวัดให้ข้อมูล ในด้านต่างๆที่หน่วยงานอื่นร้องขอ
ปริมาณงานและทรัพยากร (คน เทคโนโลยี เครื่องมือ)
1. ทรัพยากร
ตำแหน่ง | จำนวน |
พยาบาลวิชาชีพ |
2 คน |
การตรวจสุขภาพเจ้าหน้าที่
- มีการตรวจสุขภาพทั้งหมด จำนวน 5 คน อยู่ในภาวะเสี่ยง จำนวน 2 คนเนื่องจากมีภาวะ BMI เกิน สุขภาพอยู่ในภาวะ ปกติ 3 คน มีการส่งเสริมให้ออกกำลังกาย และให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องอาหาร
- มีการตรวจตา ซึ่งเป็นการตรวจตามความเสี่ยง จำนวน 3คน พบภาวะสายตายาว 1คนสายตาสั้น 2 คน ให้ตรวจเช็คแว่นสายตาอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง อีก 2คน ยังไม่ได้ตรวจเพราะเป็นเจ้าหน้าที่ใหม่
- มีการตรวจความจุปอด จำนวน 5 คน ผลการตรวจพบว่า ปกติทั้งหมด
การพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ ตาม Training need
ตำแหน่ง | เรื่องที่ได้รับการพัฒนา |
นางกัลยา หนูแก้ว ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ หัวหน้างาน |
- สิทธิการรักษาพยาบาล ของสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า สิทธิสวัสดิการข้าราชการ และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สิทธิประกันสังคม - การเรียกเก็บค่าชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ ตามสิทธิการรักษาพยาบาล
|
นางสุรัชนี แจ่มกลิ่น ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
|
- แฟ้มข้อมูลมาตรฐาน - สิทธิการรักษาพยาบาล ของสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า การลง ทะเบียนสิทธิ และ บุคคลผู้มีปัญหาสถานะและสิทธิ บุคคลต่างด้าว - การให้รหัสโรค ตาม ICD 9 ICD10 - Health Data Center
|
นายศิริคุณ มาให้ ตำแหน่ง นักวิชาการคอมพิวเตอร์ |
- อบรมการบริหารจัดการระบบเครือข่ายในโรงพยาบาล - JHOS -พื้นฐาน Rounter OS - การบริหารจัดการระบบ LINUX -การดูแลบำรุงรักษา Hard Ware(advanced) |
นายเสฎฐวุฒิ ทิพย์ลุ้ย ตำแหน่ง นักวิชาการคอมพิวเตอร์ |
- Health Data Center - การเฝ้าระวังระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ - การดูแลบำรุงรักษา Hard Ware(basic)
|
นางวาสนา สอนไว พนักงานบริการ |
- ลงบันทึกข้อมูล ในระบบ e-Claim งานหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า |
(ส่วนที่ 1 งานประกัน)
งานประกันสุขภาพโรงพยาบาลตรอน
ค.ผู้รับผลงานและความต้องการที่สำคัญ
ความต้องการของผู้รับบริการ
ผู้รับผลงาน | ความต้องการของผู้รับผลงาน |
1.ผู้รับบริการภายใน หน่วยงานต่างๆภายในโรงพยาบาล
2.ผู้รับบริการภายนอก 2.1 ผู้ป่วยที่มารับการรักษา 2.2หน่วยงานอื่นๆเช่น โรงพยาบาลอื่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ และหน่วยงานต่างๆ
2.3หน่วยงานที่รับข้อมูล
|
-ต้องการทราบสิทธิการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยที่ถูกต้อง และลงบันทึกใน HIM PRO - ต้องการทราบถึงขอบเขตของสิทธิการรักษาว่า คุ้มครองมากน้อยแค่ไหน เพียงใด - ต้องการให้มีการเรียกเก็บค่าชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ ถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา
- ต้องการได้รับบริการ ตามสิทธิที่ตนเองพึงได้รับ อย่างถูกต้อง -ต้องการที่จะได้รับข้อมูลสิทธิ ที่ถูกต้อง และการส่งต่อผู้ป่วยที่เป็นไปอย่างถูกต้องตาม Referral system -ต้องการข้อมูล ที่ร้องขอ อย่างถูกต้อง ทันเวลา
|
ง.ประเด็นคุณภาพที่สำคัญ
1.การได้รับบริการที่รวดเร็ว พึงพอใจ ในการลงทะเบียนในสิทธิUCและสิทธิจ่ายตรงข้าราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2. มีความพึงพอใจ ในการมารับบริการปรึกษา
3 .การจัดทำข้อมูลเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อมูลมีความถูกต้อง ส่งเรียกเก็บได้ทันเวลาตามที่กำหนด
จ.ความท้าทาย ความเสี่ยงสำคัญ จุดเน้นในการพัฒนา
จ.1.ความท้าทาย
1.การได้รับการจัดสรรค่าชดเชยทางการแพทย์อย่างสมเหตุสมผล
2.การจัดส่งข้อมูลการเรียกเก็บต้องครบถ้วน ถูกต้อง และทันเวลา
จ.2 ความเสี่ยงที่สำคัญ
ความเสี่ยงที่สำคัญ | แนวทางป้องกันและแก้ไข | ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น |
1.การส่งข้อมูลเรียกเก็บโปรแกรม E-Claimไม่ทันตามเวลาที่กำหนด
|
1.มี Flow chart การเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์
2. ให้มีการติดตาม หากมีความล่าช้าในแต่ละขั้นตอน ประ สาน งานระหว่างหน่วยงานในโรงพยาบาล
|
1.ทำการบันทึกข้อมูลเรียกเก็บได้ ถูกต้อง ทันเวลาที่กำหนด ปี 2556 ความทันเวลา ร้อยละ 92.85 ปี 2557 ส่งทันเวลาร้อยละ 100 ปี 2558 ส่งทันเวลาร้อยละ 100 ปี 2559 ส่งทันเวลาร้อยละ 100
|
ฉ. ปริมาณงานและทรัพยากร (คน เทคโนโลยี เครื่องมือ)
1. ปริมาณงาน
1.1 งานเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์
จำนวนเงินที่เรียกเก็บ |
ปี2557 (บาท ) |
ปี2558 (บาท ) |
ปี2559 (บาท ) |
|
2,633,110.26 | 4,582,700.87 | 3,981,369 |
|
1,165,299.62 | 1,847,725.95 | 1,517,270 |
|
401,709.38 | 571,894.07 | 792,634.00 |
|
151,782.43 | 90,473.72 | 123,731.00 |
จำนวนรายที่เรียกเก็บ |
ปี2557 (ราย ) |
ปี2558 (ราย) |
ปี2559 (ราย) |
|
8,262 | 9,901 | 9,683 |
|
171
|
179 |
155
|
|
915 | 1,258 | 1,735 |
|
13 | 15 | 23 |
|
0.71 | 0.77 |
.7218
|
จำนวนรายที่ส่งเบิก (สิทธิ UC ผ่าน E Claim) |
ปี2557 ราย |
ปี2558 ราย |
ปี2559 ราย |
|
165 | 190 | 182 |
|
81 | 110 | 117 |
|
1,184 | 1,525 | 1588 |
- งานลงทะเบียนผู้รับบริการ สิทธิการรักษาพยาบาล
ประเภทสิทธิการรักษาพยาบาล |
ปี2557 ราย |
ปี2558 ราย |
ปี2559 ราย |
|
1,167 | 970 | 1,283 |
|
130 | 248 | 227 |
|
269 | 86 | 75 |
2.กระบวนการสำคัญ
กระบวนการสำคัญ งานเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์
กระบวนงานที่สำคัญ (Key Process) |
สิ่งที่คาดหวัง (Process Requirement) |
ตัวชี้วัดสำคัญ (Performance Indicator) |
1.ข้อมูลในโปรแกรมการส่งเบิกถูกต้อง ครบถ้วน - IPD เวชระเบียนต้องผ่านการตรวจสอบจากคณะกรรมการตรวจสอบเวชระเบียนก่อน |
- ข้อมูลที่ส่งเบิก ถูกต้อง ครบถ้วน
- ได้รับการจัดสรรเงินคืนอย่างสมเหตุผล |
1.ร้อยละ ของเวชระเบียนผู้ป่วยในที่ผ่านการตรวจ สอบของทีมตรวจสอบคุณภาพของโรงพยาบาล 2.ค่า Adj RW อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน |
2.การบันทึกข้อมูลและการส่งข้อมูลทันเวลา - มีการปฏิบัติกิจกรรมการส่งเบิก ตามระบบงานที่กำหนดไว้ |
-การบันทึกข้อมูลที่ส่งเบิก เสร็จสิ้นภายในเวลาที่กำหนด -การส่งเบิกข้อมูล ทันเวลา |
1. การส่งข้อมูลทันเวลา ร้อยละ 100
|
3. การตรวจสอบการได้รับการจัดสรรเงินชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ -ตรวจสอบข้อมูล REP -ตรวจสอบข้อมูลจาก Statement -ตรวจสอบข้อมูลจากรายละเอียดการจัดสรรเงิน |
- ได้รับการจัดสรร เงินชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ ตามจำนวนรายที่เรียกเก็บ
|
1. ได้รับการจัดสรรเงินตามที่เรียกเก็บ ตามจำนวนราย ร้อยละ 100 |
กระบวนการสำคัญ การลงทะเบียนสิทธิเบิกจ่ายตรงข้าราชการ
กระบวนงานที่สำคัญ (Key Process) |
สิ่งที่คาดหวัง (Process Requirement) |
ตัวชี้วัดสำคัญ (Performance Indicator) |
1.ตรวจสอบสิทธิผู้ป่วย จากโปรแกรม NHSO Client ด้วยการใช้ Smart card กับเครื่องอ่าน Smart card 2.ตรวจสอบว่าผู้มารับบริการเคยมารับบริการที่โรงพยาบาลตรอนหรือไม่ HN อะไร จากโปรแกรม HIM PRO เพื่อบันทึกข้อมูลในโปรแกรม 3.ดำเนินการลงทะเบียนผู้มารับบริการ ในโปรแกรม NHSO Client โดยใช้ Smart card 4.ตรวจสอบสิทธิจากการลงทะเบียน แจ้งให้ผู้รับบริการทราบว่าสามารถใช้สิทธิได้ เมื่อใด |
บริการผู้ป่วยได้ถูกต้อง รวดเร็ว | 1.ความพึงพอใจของผู้รับบริการ |
3. ตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (Performance Indicator)
เป้าหมายหน่วยงาน | ตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน |
เป้าหมาย ตัวชี้วัด |
ปี 2557 | ปี 2558 | ปี 2559 |
1. ส่งข้อมูลผู้ป่วยในเบิกได้ สิทธิข้าราชการ ทันเวลา | 1. อัตราการส่งข้อมูลผู้ป่วยในเบิกได้สิทธิข้าราชการ(โปรแกรม CSMBSเดิม ปี2557ใช้ E Claim) |
≥ ร้อยละ 95
|
100 | 100 | 100 |
2. ส่งข้อมูลผู้ป่วยนอกเบิกได้สิทธิข้าราชการ(รวมสิทธิจ่ายตรงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจ่ายตรง ตั้งแต่ 1ตค. 2557) ทันเวลา | 1. อัตราการส่งข้อมูลผู้ป่วยนอกเบิกได้สิทธิข้าราชการ(รวมสิทธิจ่ายตรงองค์กรปกครองส่วนท้อง ถิ่น ตั้งแต่ 1ตค. 2557 โปรแกรม Cscdเดิม ปี2557ใช้ E Claim) ทันเวลา |
≥ ร้อยละ 95
|
100 | 100 | 100 |
3. ส่งข้อมูลผู้ป่วยในสิทธิ UC ทันเวลา (ใช้โปรแกรม E Claim) | 1.อัตราการ ส่งข้อมูลผู้ป่วยในสิทธิ UC ทันเวลา | ≥ ร้อยละ 95 | 100 | 100 | 100 |
4.ส่งข้อมูลผู้ป่วยนอกกรณี A/Eสิทธิ UC ทันเวลา (ใช้ โปรแกรม E Claim) | 1.อัตราการ ส่งข้อมูลผู้ป่วยนอกกรณี A/Eสิทธิ UC ทันเวลา | ≥ ร้อยละ 95 | 100 | 100 | 100 |
5.ข้อมูลที่ส่งเบิกมีคุณภาพ | 1.ค่า Adj RW อยู่ในเกณฑ์ของ รพช.ขนาด 30เตียง | ไม่น้อยกว่า0.6 | .7168 | .6595 | .6903 |
6.ได้รับค่าบริการทางการแพทย์คืนอย่างสมเหตุ สมผล | 1.อัตราการได้รับจ่ายคืน | มากกว่าร้อยละ 70 | |||
6.ผู้รับบริการมีความพึงพอใจของ | 1. อัตราความพึงพอใจของผู้รับบริการ | ≥ ร้อยละ 80 | 89.29 | 83.47 | 85.83 |
4. กระบวนงานหรือระบบเพื่อบรรลุเป้าหมายและมีคุณภาพ
4.1 ระบบงานที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน(รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพที่เสร็จสิ้นแล้ว)
ผลเด่นการพัฒนาคุณภาพ/นวตกรรม | เหตุที่มาก่อนหน้านี้ | ผลลัพธ์ |
การพัฒนาการเบิกเงินชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ ให้ทันเวลา
|
ไม่มีการกำหนดขั้นตอนการเรียกเก็บทำให้การเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาลไม่ได้มีการควบคุม ระยะเวลาของแต่ละขั้นตอนในกระบวนการเรียกเก็บ และไม่มีการตรวจสอบคุณภาพของเวชระเบียนที่เรียกเก็บ-ปี 2558 มีการกำหนดขั้นตอนการเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์โดยมีการเรียกประทุมทีมการทำงาน ประกอบ ด้วย แพทย์ พยาบาลตึกผู้ป่วยใน เจ้าหน้าที่เวชสถิติ พยาบาลงานประกันสุขภาพร่วมกันกำหนด ขั้น ตอน และระยะเวลาในการปฏิบัติ งาน และให้มีการตรวจสอบคุณภาพการบันทึกเวชระเบียน จากทีมตรวจ สอบเวชระเบียนทุกฉบับ ก่อนการบันทึกรหัสโรคของเจ้าหน้าที่เวชสถิติ เพื่อให้มีการบันทึกการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง ครอบคลุม
|
- หลังจากปรับระบบแล้ว พบว่า สามารถส่งข้อมูลการเรียกเก็บได้ครบถ้วน ทันเวลา ร้อยละ 100 - |
ผลเด่นการพัฒนาคุณภาพ/นวตกรรม | เหตุที่มาก่อนหน้านี้ | ผลลัพธ์ |
-ปี 2559 มีการพัฒนาระบบการเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์ให้ตรอบคลุมมากยิ่งขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่ผู้ป่วยเข้ามารับบริการในโรงพยาบาล จนกระทั่งผู้ป่วยจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล กระบวนการเริ่มที่การตรวจสอบสิทธิการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยทุกรายที่ห้องบัตร หากมีปัญหาด้านสิทธิการรักษาพยาบาลส่งพบงานประกันสุขภาพก่อนให้บริการผู้ป่วยทุกครั้ง เมื่อให้บริการผู้ป่วยจนเสร็จสิ้นกระบวนการแล้วมีการประสานกับการเงิน, นักบัญชี เพื่อลงบัญชีให้ถูกต้องทีมการเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์เพิ่มขึ้นเริ่มตั้งแต่ห้องบัตร แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่เวชสถิติ -ทีมตรวจสอบคุณภาพเวชระเบียน พยาบาลและเจ้าหน้าที่งานประกันสุขภาพ เจ้าหน้าที่การเงิน และนักบัญชี นอกจากปรับบุคลากรแล้วยังมีการพัฒนากระบวนการทำงานให้มีความถูกต้อง ครอบคลุม มากยิ่งขึ้น เพิ่มการตรวจสอบการได้รับการจ่ายเงินคืนโดยมีระบบการตัดลูกหนี้รายตัวและตรวจสอบการได้รับเงิน จัดสรรคืน เพื่อให้ได้รับการจัดสรรอย่างสมเหตุสมผล |
ปี 2559 มีการประเมินการจัดเก็บรายได้ FAI Grading ของเขตบริการสุขภาพที่ 2 พบว่า โรงพยาบาลตรอนผ่านการประเมินระบบการจัดเก็บรายได้ คะแนน 164/200 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 82 ซึ่งได้คะแนนสูงสุดของจังหวัดอุตรดิตถ์ |
- การพัฒนาคุณภาพที่อยู่ระหว่างดำเนินการ
การพัฒนาคุณภาพ | เหตุที่มาก่อนหน้านี้ | ผลลัพธ์ | ระยะเวลา |
- แผน Single Data Entry |
-เมื่อผู้ป่วยมารับบริการ ต้องมีขั้นตอนการรับบริการหลายขั้นตอนมากตั้งแต่การยื่นบัตร การตรวจสอบสิทธิการรักษา พยาบาล ประวัติด้านการรักษาพยาบาลเดิมของผู้ป่วย การรักษา พยาบาลที่ได้รับ ค่าใช้จ่ายในการรักษา พยาบาล จนถึงการเบิกจ่าย ผู้ป่วยต้องผ่านหลายกระบวน การ จึงได้มีการพัฒนาระบบข้อมูลการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยแบบผู้ป่วยยื่นข้อมูลเพียงครั้งเดียวข้อมูลการรักษาพยาบาลเข้าในระบบทั้งหมดของโรง พยาบาล จนกระทั่งถึงระบบการเบิกจ่ายค่ารักษา พยาบาล |
-มีการเริ่มต้นโครงการในระดับเขต | 2560-2565 |
5. แผนการพัฒนาต่อเนื่อง
แผนการพัฒนา | เป้าหมาย | ระยะเวลา |
|
-เพื่อนำมาทบทวนร่วมกับความ สมบูรณ์ของการบันทึกเวชระเบียน และมาตรฐานการรักษาพยาบาลผู้ป่วยขององค์กรแพทย์ เป้าหมายการทบทวน ได้แก่เวชระเบียนที่มีจำนวนเงินที่เรียกเก็บน้อยกว่าจำนวนเงินที่ได้รับจัดสรรคืน มากกว่าร้อยละ 30 -เพื่อนำมาวิเคราะห์สถานการณ์ด้านการเงินการคลังของโรงพยาบาล |
เมษายน 2558 – กันยายน 2560 |
(ส่วนที่ 2 สารสนเทศ)
งานสารสนเทศโรงพยาบาลตรอน
ก. ประเด็นคุณภาพที่สำคัญ
- ระบบงานของโรงพยาบาลสามารถ ใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมง
- ข้อมูลระบบ Health Data Center มีความถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา
ข. ความท้าทายความเสี่ยงสำคัญ
ความท้าทาย
- ระบบเวชระเบียนแบบ Electronic file ทั้งหมด เพื่อให้ข้อมูลในเวชระเบียนเป็นฉบับเดียวกัน
- ระบบความปลอดภัย ใช้ระบบ Firewall
- มีระบบ Data Center ในระดับอำเภอ
- ทำ Database clustering
- ระบบ Single Data Entry
ความเสี่ยงที่สำคัญ
ความเสี่ยงที่สำคัญ | แนวทางป้องกันและแก้ไข | ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น |
1. การสูญหายของข้อมูล |
1. ระดับที่ 1 เครื่อง Server หลัก และ Server สำรองเป็น Replication server ที่ลงโปรแกรมพร้อมที่จะใส่ข้อมูลลงไปแล้วทำหน้าที่แทน Server หลักได้ทันที สำรองข้อมูลแบบ Real Time และแยก Server หลัก และ Serverสำรอง ไว้คนละตึกกัน 2. ระดับที่ 2 สำรองข้อมูลไว้ที่เครื่องของงานเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยทำการสำรองข้อมูลแบบ Real Time 3. ระดับที่ 3 สำรองข้อมูลไว้ที่ External hard disk โดยเชื่อมกับเครื่องที่ห้อง LAB ที่เปิดไว้ตลอด 24 ชั่วโมง หากมีเหตุฉุกเฉินสามารถที่จะ สั่งรีโมท มาสำรองข้อมูลได้ทันท่วงที 4. ระดับที่ 4 เขียนข้อมูลที่สำรอง DVD ข้อมูลวันละ 1 ครั้ง เก็บไว้ที่ตึกแพทย์แผนไทย
|
- ยังไม่พบการสูญหายข้อมูลตั้งแต่นำตามมาตรการนี้มาใช้ |
2. กระแสไฟฟ้าขัดข้องไฟกระชาก เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาจากกระแส ไฟฟ้า ซึ่งอาจสร้างความเสียหายแก่ระบบคอม พิวเตอร์ |
1. การติดตั้งเครื่องสำรองไฟฟ้าและปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติ (UPS) เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรือการประมวลผลของระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งในส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) และเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) 2. เมื่อเกิดกระแสไฟฟ้าดับ ให้รีบทำการบันทึกข้อมูล (Save) คอมพิวเตอร์ที่ยังค้างอยู่ และปิดเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างปลอดภัย (Safety) รวมทั้งการปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นภายในศูนย์ด้วย |
- เครื่องสำรองไฟฟ้าที่สำรองเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) สำรองไฟฟ้าได้ประมาณ 30 นาที - เครื่องสำรองไฟฟ้าที่สำรองเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) สำรองไฟฟ้าได้ประมาณ 10 นาที |
3. การเปิดเผยข้อมูลของผู้ป่วย |
1. กำหนดสิทธิ / รหัสผ่านของบุคลากรเพื่อเข้าสู่โปรแกรมการปฏิบัติงานและการเข้าถึงเวชระเบียน
|
- ยังไม่พบการร้องเรียนเรื่องการเปิดเผยข้อมูลผู้ป่วย |
4. ความถูกต้อง ของข้อมูลสารสนเทศ |
1. มีการชี้แจง สอนงานแก่ User หากมีการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมการบันทึกข้อมูลในโปรแกรม เพื่อให้ข้อมูลถูกต้อง ครบถ้วน
|
- คุณภาพของข้อมูลส่งออกเพิ่มมากขึ้น |
ฉ. ปริมาณงานและทรัพยากร (คน เทคโนโลยี เครื่องมือ)
ปริมาณงาน
กิจกรรม (ที่สำคัญ) | จำนวน (ครั้ง) | ||
ปี 2557 | ปี 2558 | ปี 2559 | |
1.การ Downtime Server | 1 | 13 | 0 |
2. ดูแลบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย และอุปกรณ์พ่วง ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ | 650 | 1,010 | 1,200 |
3. ให้คำแนะนำให้คำปรึกษาด้านการใช้งานด้านเทคโนโลยีกับหน่วยบริการ ทั้งโรงพยาบาล และ PCU | 520 | 1,200 | 1,250 |
4. ให้ความรู้ผู้ใช้งานระบบ HIM PRO | 1 | - | 11 หน่วยงาน |
5. ปรับปรุงระบบ network | 4 | 3 | 2 |
6.ออกแบบชุดคำสั่งเพื่อออกรายงาน | 19 | 35 | 35 |
กระบวนการสำคัญ
กระบวนงานที่สำคัญ (Key Process) |
สิ่งที่คาดหวัง (Process Requirement) |
ตัวชี้วัดสำคัญ (Performance Indicator) |
1. มีการตรวจสอบความพร้อมในการทำงานโดยมีการตรวจสอบระบบที่จุดให้บริการผู้ป่วย ดูแลเครื่องคอม พิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์พ่วงทุกชนิด โดย นักวิชาการคอมพิวเตอร์ทุกวันทำการ แบ่งพื้นที่รับผิดชอบเป็น 2 โซน เพื่อตรวจ สอบปัญหาและความพร้อมใช้งานของระบบคอมพิวเตอร์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลสามารถให้บริการผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
-ระบบมีความพร้อมใช้งานตลอด 24 ชั่วโมง -สนับสนุนให้ ผู้ให้บริการสามารถให้บริการผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
|
1.ความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบงานโรง พยาบาล ≥ ร้อยละ 80 |
2.ตรวจสอบการทำงานของ Serverตรวจเช็คระบบ Replication Real time ทุกวัน ตรวจสอบความ ถูกต้อง พร้อมใช้ของข้อมูล โดยการประมวลผลข้อมูลมาเปรียบเทียบความตรงกันของข้อมูล |
- ข้อมูลมีความปลอดภัย มั่นใจได้ว่าข้อมูลไม่สูญหาย -ข้อมูลถูกต้องนำไปใช้งานได้จริง
|
1. ระบบ HIM PRO ล่มไม่เกินครั้งละ 2 ชั่วโมง ไม่เกิน 2ครั้งต่อปี |
3. ตรวจสอบและอัพเกรด ระบบให้บริการโรงพยาบาลให้เป็นปัจจุบัน |
-ข้อมูล 43 แฟ้ม 16 แฟ้ม มีความสมบูรณ์
|
1. ความสมบูรณ์ของแฟ้มข้อมูลรับบริการ |
กระบวนงานที่สำคัญ (Key Process) |
สิ่งที่คาดหวัง (Process Requirement) |
ตัวชี้วัดสำคัญ (Performance Indicator) |
เพื่อให้ได้ชุดข้อมูลตามที่กระทรวงกำหนด | มากกว่าร้อยละ 95 | |
4.จัดทำแบบฟอร์มต่างๆเพื่อตอบ สนองความต้องการของผู้ใช้งาน | -บุคลากรผู้ใช้งาน มีความพึงพอใจและสามารถใช้สนับสนุนการทำงานได้อย่างสะดวก | -จำนวนแบบฟอร์มต่างๆที่ผลิตขึ้น |
5. ตรวจสอบข้อมูลของระบบ Refer online เช็คสถานะเครื่องแม่ข่าย ตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงาน | ระบบ Thai Refer สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา |
1.มีการตรวจสอบการทำงานของระบบ มาก กว่าร้อยละ 80 2.มีการสรุปปัญหาการใช้งานทุกเดือน(เริ่มใช้งาน เดือนพฤศจิกายน2559) |
6.ให้ความรู้เจ้าหน้าที่ในการลงบันทึกข้อมูล ให้ถูกต้อง | เจ้าหน้าที่แต่ละหน่วยงานมีความรู้ในการบันทึกข้อมูล | -ร้อยละหน่วยงานที่ได้รับการให้ความรู้ในการบันทึกข้อมูล |
7. ตรวจสอบความถูกต้องของการบันทึกข้อมูล ของแฟ้มข้อมูลต่างๆ | ความถูกต้องของข้อมูลในระบบ | ความถูกต้องของข้อมูลในระบบ Health Data Center ร้อยละ 100 |
3. ตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (Performance Indicator)
เป้าหมายหน่วยงาน | ตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน |
เป้าหมาย ตัวชี้วัด |
ผลลัพธ์ | ||
ปี 2557 | ปี 2558 | ปี 2559 | |||
1. เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายต้องมีความพร้อมใช้ตลอด 24 ชม. | 1. ระบบ HIM PRO ล่มไม่เกินครั้งละ 2 ชั่วโมง ไม่เกิน 2ครั้งต่อปี | 2 ครั้ง /ปี | 0 | 0 | 0 |
2. ข้อมูล ถูกต้อง ครบถ้วน เป็นความลับ |
1. คะแนนคุณภาพของความสมบูรณ์ของแฟ้มข้อมูล 2. จำนวนข้อร้องเรียนเรื่องการเปิดเผยความลับของผู้ป่วย |
≥ ร้อยละ 95
ไม่มี
|
99.06
ไม่มี
|
99.41
ไม่มี
|
-
ไม่มี
|
3. ข้อมูล มีความปลอดภัย | 1.การตรวจสอบ การทำงานของ Server กับ Server สำรอง |
≥ ร้อยละ 80
|
- | - | |
4.เจ้าหน้าที่สามารถให้บริการผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่อง รวดเร็ว จากระบบงาน HIM PRO | 1. ร้อยละความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อระบบและบริการด้าน IT มากกว่า 80 | ≥ ร้อยละ 80 | 89.29 | 81.77 | 75.05 |
5. เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานได้รับความรู้ในการบันทึกข้อมูลอย่างถูกต้อง | 1.ร้อยละของหน่วยงานที่ได้รับความรู้ในการบันทึกข้อมูลอย่างถูกต้อง | ร้อยละ 100 | - | 100 | 100 |
6. ความถูกต้องของข้อมูลในระบบ Health Data Center | 1. ความถูกต้องของข้อมูลในระบบ Health Data Center | ≥ ร้อยละ 95 | - | - |
91.57
|
4. กระบวนงานหรือระบบเพื่อบรรลุเป้าหมายและมีคุณภาพ
4.1 ระบบงานที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน(รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพที่เสร็จสิ้นแล้ว)
ผลเด่นการพัฒนาคุณภาพ/นวตกรรม | เหตุที่มาก่อนหน้านี้ | ผลลัพธ์ |
1.การพัฒนา Server ให้เป็นแบบ Real time |
-ปี 2557 ระบบงานของโรงพยาบาลได้ทำการสำรองข้อมูล แต่ไม่ได้เป็นระบบReal time ไม่ได้มีการนำเอาข้อมูลสำรองมาทดลองใช้ ไม่สามารถนำข้อมูลสำรองมาใช้ได้จริง ปี 2558 มีการสำรองข้อมูลแต่สามารถสำรองข้อมูลได้ที่ 4.00 ของทุกวัน และต้องใช้ระยะเวลาในการนำข้อมูลสำรองมาใช้งานได้จริงประมาณ 1 ชั่วโมง ปี 2559 นำเครื่องแม่ข่ายสำรองที่มีอยู่แล้ว มาติดตั้งระบบ Linux Centos , Himpro Server , mysql Server , Percona การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง |
-ไม่สามารถนำข้อมูลสำรองมาใช้ได้จริง
-สามารถสำรองข้อมูลได้แต่ยังไม่เป็นแบบ Real time และใช้ระยะเวลาในการนำฐานข้อมูลมาใช้นาน กว่า 1 ชั่วโมง
-สามารถ สำรองเป็นข้อมูลแบบ real time |
2.การรายงานความเสี่ยงสามารถราย งานใน HIM PRO ได้ |
-ก่อนนี้ใช้ระบบรายงายความเสี่ยงโดยการเขียน ส่งเป็นแบบเอกสาร ต่อมามีการบันทึกในระบบ Him Pro เพื่อความสะดวกในการบันทึกของเจ้า หน้าที่ - ปี 2559 คณะกรรมการความเสี่ยงเห็นว่า ระดับความรุนแรงของความเสี่ยงทั่วไปยังไม่ได้แยกระดับความรุนแรงออกมาอย่างเด่นชัด ยังใช้ระดับ ความรุนแรงทางคลินิกมาปรับใช้ ทำให้เกิดความไม่เข้าใจในการรายงานความเสี่ยง คณะกรรมการ RM ร่วมกับงาน |
-เป็นช่องทางที่มีการราย งานความเสี่ยง ที่มากที่สุดของโรงพยาบาล
|
ผลเด่นการพัฒนาคุณภาพ/นวตกรรม | เหตุที่มาก่อนหน้านี้ | ผลลัพธ์ |
IM จึงพัฒนาโปรแกรมความเสี่ยงเพื่อตอบสนองกับการรายงานความเสี่ยงมากยิ่งขึ้น มีการแก้ไขระดับความเสี่ยงของ ความเสี่ยงทั่วไปออกมาอย่างเด่นชัด เพิ่มระดับความเสี่ยง J, K , L ,M เป็นความเสี่ยงระดับป้องกัน ระดับ น้อย ระดับปานกลาง และระดับมาก ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีการแก้ไขหมวดหมู่หลัก และหมวดหมู่ย่อยของความเสี่ยงทั้งด้านคลีนิกและด้านทั่วไป | ||
3. ระบบ Thai refer
|
ในปี 2558 ระบบ Refer ของโรง พยาบาลตรอน ยังใช้ระบบเอกสารส่งให้ผู้ป่วยไปรักษาต่อทำให้ระบบการส่งต่อของโรงพยาบาลตรอน ไม่สามารถเชื่อมระบบการส่งต่อ Program Thai Refer กับระดับจังหวัด ไม่สามารถเชื่อมต่อกับโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ได้ทำให้เกิดปัญหา การส่งข้อมูลผู้ป่วยทั้งการส่งต่อไปรักษาและ การส่งตัวผู้ป่วยกลับมารักษาที่โรงพยาบาลตรอนต่อนั้นไม่เป็นปัจจุบัน การส่งข้อมูลไม่ทันเวลา ทำให้การดูแลผู้ป่วยของทีมที่ให้การรักษาพยาบาลนั้น ไม่สะดวกไม่ทันเวลากับความต้องการของผู้ป่วยในการได้รับการดูแลจากทีมสุขภาพการวิเคราะห์ข้อมูลในเรื่องการส่งต่อ-รับกลับผู้ป่วย จากสถานพยาบาลอื่นๆ ไม่ทันเวลา ไม่สามารถนำสาร สนเทศนั้นมาใช้ประโยชน์ในการดูแลผู้ป่วยของทีมสุขภาพได้อย่างทันเวลาดังนั้นทีม IM จึงได้ประสานงานกับโปรแกรม | -สามารถใช้งานระบบ Thai Refer ได้ |
ผลเด่นการพัฒนาคุณภาพ/นวตกรรม | เหตุที่มาก่อนหน้านี้ | ผลลัพธ์ |
เมอร์ระบบ Him pro ให้ปรับปรุงโปรแกรมและประสานงานกับโปรแกรมเมอร์ของ Thai Refer จนสามารถปรับปรุงโปรแกรมHim pro และThai Refer Program มาใช้งานได้จริง ในเดือนตุลาคม 2559 และกำลังมีการติดตามผลการใช้งานของโปรแกรมอยู่ | ||
4.การพัฒนาระบบสารสนเทศ ในการสนับสนุน ระบบงานพัสดุทั่วไป ยา เวชภัณฑ์มิใช่ยา |
ปี 2555 เริ่มมีการจัดทำ Website ของโรงพยาบาลตรอน แต่ยังไม่มีการพัฒนาข้อมูลบน เวปไซต์มากนัก การใช้ประโยชน์จากผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ยังมีน้อยมาก ปี 2557-2558 มีการพัฒนาข้อมูลข่าวสารมากขึ้น มีการประกาศข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างของโรงพยาบาล ปี 2559 ระบบงานพัสดุทั่วไป ยา เวชภัณฑ์มิใช่ยา ของโรงพยาบาลมีความผิดพลาดของการทำชุดขออนุมัติบ่อย เนื่องจากความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ในการบันทึกข้อมูล ทำให้เกิดความล่าช้าในการขออนุมัติซื้อ ส่งผลกระทบกับการให้บริการผู้ป่วย ฝ่ายสารสนเทศจึงมีการพัฒนาจัดทำแบบฟอร์มต่างๆเช่น ชุดอนุมัติการขอซื้อสำหรับเจ้าหน้าที่พัสดุทั้งงานบริหาร และกลุ่มงานเภสัชกรรมในการจัดซื้อยา เวชภัณฑ์มิใช่ยา โดยมีการกรอกข้อมูลการจัดซื้อเพียงครั้งเดียว ข้อมูลจะไปปรากฏในแบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องโดยอัตโนมัติ |
-เริ่มมี website ของโรงพยาบาล
-เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจในการใช้งานมากขึ้น
|
5.การคัดกรองผู้ป่วย |
-การคัดกรองผู้ป่วยตามภาวะความเสี่ยงทางด้านสุขภาพนั้น เมื่อคัดกรองผู้ป่วยแล้วบันทึกผลการคัดกรองในโปรแกรม หากมีค่าสัญญาณชีพที่ผิดปกติ จะมีสัญญาณเตือนเป็นสีแดง ให้เจ้าหน้าที่สามารถสังเกตเห็นได้โดยง่าย ปี 2559 เมื่อคัดกรองผู้ที่มีภาวะเสี่ยงเมื่อพบภาวะเสี่ยงหรือมีความผิดปกติ ระดับความรุนแรงของภาวะสุขภาพที่พบ โปรแกรมจะวิเคราะห์ระดับความรุนแรงตามการจำแนกผู้ป่วยโดยใช้ปิงปอง 7 สี ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถให้การดูแลผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง โดยมีการใช้สารสนเทศเข้าไปช่วยสนับสนุนในการทำงาน |
-สามารถสังเกตเห็นการเตือนถึงความผิดปกติของสัญญาณสัญญาณชีพในโปรแกรม
-สามารถทราบถึงระดับความรุนแรงของความผิดปกติตามการจำแนกของปิงปอง 7สีได้ |
1. การพัฒนาคุณภาพที่อยู่ระหว่างดำเนินการ
การพัฒนาคุณภาพ | เหตุที่มาก่อนหน้านี้ | ผลลัพธ์ | ระยะเวลา |
1. พัฒนา Website ของโรงพยาบาล ในการประชาสัมพันธ์ข่าวสาร | พัฒนาต่อเนื่อง Website ของโรงพยาบาล |
1.ให้เป็นช่องทางหนึ่งในการแสดงความคิดเห็น หรือเสนอแนะ 2.เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านต่าง ๆ ในองค์กร 3.เป็นการสื่อสารภายในและภายนอกองค์กร 4.เป็นแหล่งความรู้ด้านสุขภาพแก่ประชาชน |
ตค.2558 – กย.2560 |
2. พัฒนาระบบการบันทึกข้อมูลให้ตอบสนองต่อผู้ใช้งานในระบบ | -การบันทึกในบางคลินิกไม่สามารถส่งต่อกันได้ | 1.เพื่อแผนกต่างๆสามารถบันทึกการให้บริการได้ในการมารับบริการของผู้ป่วยใน visit เดียวกัน | ตค.2557 – กย.2560 |
3.พัฒนาระบบ Health Data Center ของเครือข่ายโรงพยาบาลตรอน | -คุณภาพของการบันทึกข้อมูลในระบบ ยังมีความผิดพลาดสูง บันทึกไม่ถูกต้อง ครบถ้วน และไม่มีการตรวจสอบข้อมูลในเครือข่าย ก่อนส่งเข้าระบบ Health Data Center | ตอบสนองความต้องการในการประมวลผล | ตค.2559 – กย.2560 |
5. แผนการพัฒนาต่อเนื่อง
แผนการพัฒนา | เป้าหมาย | ระยะเวลา |
|
-เพื่อสามารถทราบประวัติการรักษาพยาบาลของผู้ป่วย ผู้ป่วยปลอดภัยจากการแพ้ยา ได้รับยาซ้ำซ้อน เกินขนาด | ตค. 2558 – กย. 2560 |
|
-เพื่อให้ การบริหารจัดการข้อมูลและการพัฒนาระบบของโรงพยาบาลในจังหวัดอุตรดิตถ์เป็นไปในทิศทางเดียวกัน | ตค. 2559- กย.2561 |
|
-เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ลดความเสี่ยงจากความผิด พลาดในการบันทึกข้อมูลผู้ป่วย -เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการของโรงพยาบาล ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น |
ตค. 2560- กย. 2563 |