แพทย์ยัน! “เส้นเลือดขอด” ทายาไม่หาย!

แพทย์ยัน! “เส้นเลือดขอด” ทายาไม่หาย!

แพทย์ยัน! “เส้นเลือดขอด” ทายาไม่หาย!

เฟซบุ๊คเพจ “หมอแล็บแพนด้า” นำข้อมูลจากเพจ “โรคร้ายไม่ตายง่ายๆ by หมอท๊อป” มาบอกต่อกันถึงเรื่องอาการเส้นเลือดขอด ว่าไม่สามารถทายาแล้วอาการจะหายขาดได้ 100% ทำได้เพียงลดอาการไม่ให้กลายเป็นเส้นเลือดขอดใหญ่ๆ แต่หากเป็นเส้นเลือดขอดที่มองเห็นได้ชัด จะไม่สามารถรักษาด้วยวิธีการทายาได้ โดยเฉพาะยาทาแก้เส้นเลือดขอดตามอินเตอร์เน็ต ที่ไม่มีรายงานวิจัยยืนยันที่เชื่อถือได้

วิธีรักษาเส้นเลือดขอดในปัจจุบัน มีดังนี้

1.กินยา แต่เส้นเลือดใหญ่ๆ จะไม่ลดลง เพียงแค่ทำให้อาการเหน็บชาจะดีขึ้น

2.ใส่ถุงน่องทางการแพทย์ เส้นเลือดจะยุบลงบ้างแต่ไม่หมด

3.ผ่าตัด มีหลายวิธีและเส้นเลือดจะยุบลงชัดเจน

นอกจากนี้ก่อนซื้อยาตามร้านขายยามาทา ก็ต้องปรึกษาเภสัชกรก่อนซื้อด้วยค่ะ

 

นอกจากนี้ยังมีข้อมูลเกี่ยว “เส้นเลือดขอด” จาก อ.นพ. ระวี พิมลศานติ์ Faculty of Medicine Siriraj Hospital คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มาฝากกันค่ะ

ถาม : เส้นเลือดขอดที่แท้จริงคืออะไร

ตอบ : หมายถึง เส้นเลือดดำส่วนหนึ่งอยู่ใต้ผิวหนังเกิดมีการเสียความยืดหยุ่น เกิดมีการเส้นเลือดขยายตัว ขึ้นทั้งด้านกว้างและด้านยาว ทำให้คดเคี้ยวไปมา ทำให้ลักษณะเหมือนตัวหนอนหรือไส้เดือนใต้ผิวหนัง และเส้นเลือดขอดเกิดขึ้นกับส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้แล้วแต่สาเหตุเกิดจากอะไร พบบ่อยคือที่ หลอดอาหารต่อกันระหว่างหลอดอาหารกับกระเพาะอาหาร เส้นเลือดขอดของหลอดอาหารนี้ส่วนใหญ่เป็นพยาธิสภาพที่เกิดจากมีตับแข็ง และทำให้เกิดเป็นความดันในระบบช่องท้องสูงขึ้น ทำให้มีเส้นเลือดขอดเกิดขึ้นบริเวณข้อต่อของอาหารและกระเพาะอาหาร ส่วนอื่นอาจพบได้ เช่น แขน

ถาม : อาการของคนที่เป็นเส้นเลือดขอดมีลักษณะอย่างไร

ตอบ : โดยทั่วไปแล้วคนไข้จะมาพบเพราะมีลักษณะไม่สวยงาม อาการจริง ๆ มักจะไม่มีอาการอะไรเลย หรืออาจจะยืนนาน ๆ ในตอนเป็นอาจมีความรู้สึกปวดหรือเท้าหนัก ๆ ถ้าเป็นมากขึ้นคนไข้จะรู้สึกเจ็บที่ตัวเส้นเลือดขอดเองก็ได้ หรือเท้าจะบวมขึ้น ถ้าเป็นมาก ๆ อาจจะมีการอักเสบที่เส้นเลือดขอดบริเวณผิวหนัง จะเป็นสีแดงเรื่อ ๆ หรือแตกเป็นแผล แล้วแต่ระยะของคนไข้

ถาม : เป็นเส้นเลือดขอด ถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่มีการรักษาจะเกิดอันตรายอย่างไรบ้าง

ตอบ : อาการที่น่ากลัวที่สุดคืออาการแตกของเส้นเลือดขอด มีอาการตกเลือด ซึ่งบางครั้งเป็นที่หลอดอาหาร ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ และการตกเลือดเส้นเลือดขอดที่ขาก็จะไม่มีอาการใดมาก ถ้าผู้ป่วยไม่ตกใจจนเกินไปสามารถกดเส้นเลือดเอาไว้ และไปพบแพทย์ นอกจากนี้เส้นเลือดขอดที่มีการอักเสบจะมีการเจ็บปวด มีการแตกของผิวหนังเรื้อรัง แผลพวกนี้จะหายยากเนื่องจากความดันของผิวหนังบริเวณนั้นเพิ่มสูงขึ้น

ถาม : อันตรายที่จะสังเกตได้ว่าเป็นเส้นเลือดขอดที่กระเพาะอาหาร

ตอบ : ในหลอดอาหารนอกจากคนไข้จะแสดงอาการอาเจียนออก

 

ถาม : ถ้าเส้นเลือดขอดที่ขาที่มีอาการจะมีอาการอย่างไร

ตอบ : เส้นเลือดขอดที่ขาถ้ายังมองไม่เห็น จะมีอาการปวดมาก และเป็นตะคริวในตอนกลางคืน

ถาม : เส้นเลือดขอดเป็นกรรมพันธุ์หรือไม่

ตอบ : ส่วนหนึ่งมีความเกี่ยวโยงกับกรรมพันธุ์

ถาม : สถิติของคนที่เป็นเส้นเลือดขอด

ตอบ :  สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากมีความดันเส้นเลือดเพิ่มมาก ส่วนใหญ่จะพบกับคนที่มีอาชีพยืนนาน ๆ เช่นช่างทำผมหรือแพทย์ผ่าตัด อีกประการหนึ่งความยืดหยุ่นของเส้นเลือดดำขึ้นอยู่กับฮอร์โมนเพศหญิงโดยเฉพาะ ดังนั้นผู้หญิงจึงเป็นมาก โดยเฉพาะสตรีมีครรภ์จะเกิดการอุดตันการปรับของเส้นเลือดดำจากสาเหตุสองประการเราจะพบมากในผู้หญิงอายุ 20-30 ปีขึ้นไป

ถาม : การรักษาอาการเส้นเลือดขอดมีกี่วิธี

ตอบ : การรักษา หากไม่มีอาการและคนไข้มีอายุมากแล้วจะแนะนำให้ยกขาให้สูงไว้ และพันผ้ายืดก็เพียงพอ หากคนไข้มีอาการนอกจากที่แนะนำแล้ว อาจจะทำการฉีดยาเข้าไปในเส้นเลือดขอดหรือนัดมาผ่าตัดเอาเส้นเลือดขอดออก

ถาม : การรักษาที่กล่าวมาแล้ว 2 วิธี วิธีไหนที่ได้ผลมากที่สุด

ตอบ : ขึ้นอยู่กับระยะของการเป็นและขึ้นอยู่กับขนาดของเส้นเลือดขอด โดยทั่ว ๆ ไปแล้วเส้นเลือดขอดเป็นไม่มาก ไม่ได้เป็นบริเวณเส้นเลือดใหญ่ของเส้นเลือดดำเราใช้วิธีฉีดสารเข้าไปและร่างกายก็จะค่อย ๆ ดูดซึม เอาส่วยที่อุดตันออกไป บริเวณนั้นจะเพียงเหมือนผิวหนังปกติ ถ้าเส้นขนาดใหญ่มากนิยมใช้วิธีการผ่าตัดออกเลย

ถาม : ถ้าผ่าตัดเส้นเลือดขอดบริเวณน่องจะมีแผลเป็นเห็นชัดหรือไม่

ตอบ : เครื่องมือที่ใช้ในการผ่าตัดจะมีลักษณะเหมือนลวด ซึ่งจะสอดเข้าไป เพราะฉะนั้นจะมีแผลเป็นเพียง 1-2 รอย แผลเป็นจะมีความยาว 1-2 ซ.ม. มองไม่เห็น

ถาม : วิธีการป้องกันไม่ให้เป็นเส้นเลือดขอด

ตอบ : หลีกเลี่ยงการยืนนาน ๆ พยายามยกขาให้สูงขึ้นเวลานั่ง

ถาม : อาหารที่เรารับประทานมีส่วนเกี่ยวข้องกับเส้นเลือดขอดหรือไม่

ตอบ : สำหรับอาหารคงไม่เกี่ยวข้อง การออกกำลังกายเป็นการทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นบีบตัวมากขึ้นทำให้ดีขึ้น

______________________

อ่านบทความเพิ่มเติม >>>>>  SIRIRAJ  E-PUBLIC  LIBRARY
ขอบคุณเนื้อหาจาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
และเฟซบุ๊คเพจ หมอแล็บแพนด้า
าพประกอบจาก istockphoto
credit : snook